
รัชกาลที่ 6 ทรงทำให้พระคเณศเป็นเทพศิลปะ
ศาสตร์การแสดงถือเป็นศิลปะที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าหลายพันปี ในแต่ละวัฒนธรรมต่างมีศิลปะที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในแบบของตน แต่ที่มีร่วมกันคือพวกเขาต่างมีการบูชาเทพบรมครูเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น ไศวนิกาย เป็นลัทธิที่นับถือพระศิวะ ที่เป็นเทพผู้สร้าง ผู้รักษา และเป็นผู้ที่คิดค้นท่ารำต่างๆ จึงมีการนำเทวรูปศิวะมาบูชา ในขณะที่ไวษณพนิกาย เป็นกลุ่มที่นับถือพระวิษณุเป็นใหญ่เหนือเทพใด ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในคานธรรพเวท หรือการดนตรี อย่างที่เราเห็นคือเป็นเทพที่จะปรากฏตัวพร้อมกับ อย่างที่เห็นว่าเราไม่ได้พูดถึงพระคเณศเลย ทำไมถึงไม่มีใครนับถือเทพองค์นี้ เราจะมาหาคำตอบกันว่า เราลองมาหาคำตอบกันก่อนด้วยการทำความรู้จักกับประวัติของเทพองค์นี้กัน
ประวัติของพระคเณศ
เป็นหนึ่งในเทวรูปที่รู้จักกันดีและเป็นที่เคารพนับถือมากที่สุดในวิหารฮินดูแพนธีออน เราสามารถพบเห็นภาพของพระคเณศได้ทั่วอินเดีย เนปาล ศรีลังกา ฟิจิ ไทย มอริเชียส บาหลี (อินโดนีเซีย) และบังคลาเทศ เป็นที่รู้จักกันดีว่าพระคเณศ หรือ พระพิฆเณษมีศีรเป็นหัวช้าง ทำให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเพราะมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น ผู้ที่เคารพนับถือเชื่อว่าพระคเณศจะช่วยปัดเปาอุปสรรคหรือปัญหาให้ผ่านพ้นไปด้วยดี อีกทั้งยังเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเป็นเทพแห่งสติปัญญา สำคัญสุดคือพระองค์เป็นเทพแห่งการเริ่มต้น จึงมักถูกอัญเชิญในช่วงเริ่มต้นของพิธีกรรมที่สำคัญต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงเป็นเทพแห่งการเรียนรู้ และการเขียนอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลายคนเชื่อว่าการบูชาพระคเณศ จะช่วยให้สิ่งที่คาดหวังเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นด้านของการศึกษา หรือการประกอบอาชีพต่างๆ จึงได้นิยมไหว้ขอพรจากพระคเณศก่อน แม้ว่าคนอินเดียจะมีความเชื่อแบบนี้อ แต่ก็ไม่ได้นิยมกราบไหว้บูชาท่านเป็นเทพที่เกี่ยวข้องทางศิลปะเหมือนกับคนไทย ในการประกอบพิธีกรรมจะเริ่มทำการไหว้พระคเณศก่อน แล้วจึงตามด้วนบรมครูของแต่ละสาขา ซึ่งคนอินเดียกราบไหว้ ‘พระสรัสวดี’ เป็นเทพแห่งศิลปะ
ประเทศไทยเริ่มนับถือพระคเณศเป็นเทพแห่งศิลปะ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้ยกย่องให้พระคเณศเป็นบรมครูของวงการศิลปะ ทำให้เกิดคำถามว่าแล้วความเชื่อในการนับถือพระสรัสวดีที่มีแต่เดิมนั้นหายไปไหน อาจจะเป็นเพราะในสมัยพระองค์ ผู้คนไม่ได้นับถือพระสรัสวดีมาตั้งนานแล้ว โดยเฉพาะวงปี่พาทย์ที่ไม่ได้นับถือเพราะนางไม่ได้เป็นเกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่มักจะถือวีณาที่เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของอินเดียกับในราชสำนักไทยเมื่อนานมาแล้ว แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานวันเริ่มมีการนำปี่พาทย์เข้ามาเล่นในราชสำนัก จึงได้มีการกราบไหว้บรมครูทางดนตรีคือ พระนารท และพระภรตมุนี ซึ่งเป็นผู้ที่แต่งตำราฟ้อนรำที่รวบรวมท่ารำ 108 ท่าของพระศิวะ
จนกระทั่งการถือกำเนิดของ ‘กรมศิลปากร’ ที่มีตราประจำกรมคือดวงตราพระคเณศ ด้วยเหตุนี้เองทำให้พระคเณศกลายเป็นเทพแห่งศิลปะและการศึกษาของไทยไปในที่สุด ส่วนตำนานของพระสรัสวดีก็มีน้อยคนนักที่จะมีคนพูดถึงจนเริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา เหลือเพียงอย่างเดียวคือรางวัล ‘ตุ๊กตาทอง’ ที่ทำให้ยังแสดงให้เห็นว่าคนไทยนั้น เคยกราบไหว้นางในฐานะเทพแห่งศิลปะในสมัยก่อน อีกทั้งยังเป็นตราสัญลักษณ์ของคณะอักษรศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไรไปนอกเหนือจากนั้น เพราะคนส่วนใหญ่มองว่าพระคเณศเป็นบรมครูทางศิลปะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว